สูตรคำนวณและความหมายสำหรับงานเจาะ

ค้นหาเครื่องมือตัดที่เหมาะสำหรับงานของคุณโดยเฉพาะและ
ดูค่าการตัดที่แนะนำได้ทันที
การทราบถึงวิธีคำนวณความเร็วและอัตราป้อนงานสำหรับการเจาะ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของงานเจาะ เนื้อหาในส่วนนี้ประกอบด้วยสูตรคำนวณและความหมาย ซึ่งจำเป็นสำหรับงานเจาะของคุณ เช่น ค่าการตัด อัตราป้อนงานต่อรอบ และแรงตัดจำเพาะ
ความเร็วตัด, (vc) (ม./นาที) | ความเร็วตัด, (vc) (ฟุต/นาที) |
![]() | ![]() |
ความเร็วสปินเดล, (n) (รอบต่อนาที) | ความเร็วสปินเดล, (n) (รอบต่อนาที) |
![]() | ![]() |
อัตราการเจาะ, (vf) (มม./นาที) | อัตราการเจาะ, (vf) (นิ้ว/นาที) |
![]() | ![]() |
อัตราป้อนงานต่อรอบ, (fn) (มม./รอบ) | อัตราป้อนงานต่อรอบ, (fn) (นิ้ว/รอบ) |
![]() | ![]() |
อัตราการขจัดเนื้อโลหะ, (Q) (ซม.3/นาที) | อัตราการขจัดเนื้อโลหะ, (Q) (นิ้ว3/นาที) |
![]() | ![]() |
กำลังสุทธิ, (Pc) (กิโลวตัต) | กำลังสุทธิ, (Pc) (แรงม้า) |
![]() | ![]() |
แรงบด, (แรงปอนด์, นิวตัน-เมตร) | แรงบด, (แรงปอนด์, ฟุต) |
![]() | ![]() |
แรงตัดจำเพาะ, (kc) (นิวตัน/มม.) | แรงตัดจำเพาะ, (kc) (แรงปอนด์/นิ้ว) |
![]() | ![]() |
แรงป้อน, (Ff) (นิวตัน) | แรงป้อน, (Ff) (ฟุต/นาที) |
![]() | ![]() |
เวลาที่ใช้ในการตัดเฉือน, (Tc) (นาท) | เวลาที่ใช้ในการตัดเฉือน, (Tc) (นาที) |
![]() | ![]() |
ความหมายที่ใช้ในการเจาะ

อัตราการเจาะ
อัตราการเจาะ,vf ส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการเจาะ

ความเร็วตัดสำหรับดอกสว่านแบบถอดเปลี่ยนเม็ดมีดได้
– เม็ดมีดตัวในหนึ่งตัวและเม็ดมีดตัวนอกหนึ่งตัว
ความเร็วตัดจะลดลงจาก 100% ที่ขอบนอกเป็นศูนย์ที่ตรงกลางของดอกสว่าน เม็ดมีดตัวในจะทำงานที่ความเร็วตัดตั้งแต่ศูนย์ถึงประมาณ 50% ของ vc สูงสุด ในขณะที่เม็ดมีดตัวนอกจะทำงานที่ความเร็วตัดตั้งแต่ 50% ของ vc สูงสุดจนถึง 100% ของ vc สูงสุด


ความเร็วตัดสำหรับดอกสว่านคาร์ไบด์และดอกสว่านแบบเปลี่ยนปลายได้
คมตัดสองคมตัดจากตรงกลางของดอกสว่านถึงขอบนอก

เทเปอร์หลัง
ดอกสว่านคาร์ไบด์แบบชิ้นเดียวหรือแบบเชื่อมติดปลายจะมีการเจียเทเปอร์เล็กน้อยที่ระยะหลบที่เส้นผ่านศูนย์กลางนอก ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ดอกสว่านติดขัดภายในรู

ความลึกของรู
l4 คือความลึกสูงสุดที่แนะนำของรู
วิธีการคำนวณอายุการใช้งานของเครื่องมือ
อายุการใช้งานของเครื่องมือ (TL) สามารถวัดได้ในรูปของระยะการเจาะ (เมตร) จำนวนของรูที่เจาะได้ หรือนาทีที่ใช้งานได้
การคำนวณอายุการใช้งานของเครื่องมือ - ตัวอย่างในทางทฤษฎี:
Dc 20 มม., vc = 200 ม./นาที, n = 3184 รอบ/นาที, fn = 0.20 มม./รอบ, ความลึกของรู = 50 มม.
TL (เมตร) : 15 เมตร
TL (จำนวนรู) : 15 x 1000/50 = 300 รู
TL (นาที) : 15 x 1000/vf = 15 x 1000/(fn x n)
= 15 x 1000 / (0.20 x 3184) = 23 นาที
หลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ในการระบุอายุการใช้งานของเครื่องมือคือ การสึกหรอด้านหน้า อายุการใช้งานของเครื่องมือจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้:
- ค่าการตัด
- เกรดคาร์ไบด์และหน้าลายเม็ดมีด
- วัสดุชิ้นงาน
- เส้นผ่านศูนย์กลาง (ดอกสว่านที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กจะเคลื่อนที่เป็นระยะทางมากกว่าในเวลาที่สั้นกว่า)
- ความลึกของรู (การเจาะรูตื้นหลายรูหมายถึงจำเป็นต้องมีการเจาะเข้า/ออกหลายครั้งมากกว่า ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องมือสั้นลง)
- ความมั่นคง