สูตรคำนวณและความหมายสำหรับงานคว้าน

ค้นหาเครื่องมือตัดที่เหมาะสำหรับงานของคุณโดยเฉพาะและ
ดูค่าการตัดที่แนะนำได้ทันที
เนื้อหาในส่วนนี้ประกอบด้วยสูตรคำนวณและความหมาย ซึ่งจำเป็นสำหรับงานคว้านของคุณ เช่น วิธีการคำนวณค่าการตัด อัตราป้อนงานต่อรอบ และอัตราการขจัดเนื้อโลหะที่ถูกต้องสำหรับการคว้าน ค่าที่ถูกต้องสำหรับลักษณะการตัดเฉือนในรูปแบบต่างๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสำหรับการคว้าน
ความเร็วตัด, (vc) (ม./นาที) | ความเร็วตัด, (vc) (ฟุต/นาที) |
![]() | ![]() |
ความเร็วสปินเดล, (n) (รอบ/นาที) | ความเร็วสปินเดล, (n) (รอบต่อนาที) |
![]() | ![]() |
เวลาที่ใช้ในการตัดเฉือน, (Tc) (นาที) | เวลาที่ใช้ในการตัดเฉือน, (Tc) (นาที) |
![]() | ![]() |
อัตราการขจัดเนื้อโลหะ, (Q) (ซม.3/นาที) | อตราการขจดเนอโลหะ, (Q) (นิ้ว3/นาที) |
![]() | ![]() |
อัตราการเคลื่อนเข้า, (vf) (มม./นาที) | อัตราการเคลื่อนเข้า, (vf) (นิ้ว/นาที) |
![]() | ![]() |
อัตราป้อนงานต่อรอบ, (fn) (มม./รอบ) | อัตราป้อนงานต่อรอบ, (fn) (นิ้ว/รอบ) |
![]() | ![]() |
กำลังสุทธิ, Pc (กิโลวตัต) | |
![]() | |
แรงบด, Pc (นิวตัน-เมตร) | |
![]() |
ความเร็วตัด, vc
เครื่องมือคว้านจะหมุนเป็นจำนวนรอบ (n) ต่อหน่วยเวลา ซึ่งจะให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่กำหนด (DC) จำนวนรอบการหมุนสามารถคำนวณออกมาเป็นค่าความเร็วตัด vc ที่คมตัด โดยเป็นการวัดในหน่วย ม./นาที ค่าความเร็วตัดส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของเครื่องมือ
อัตราป้อนงาน, fn

การเคลื่อนที่ในแนวแกนของเครื่องมือเรียกว่า อัตราป้อนงาน โดยเป็นการวัดในหน่วย มม./รอบ อัตราป้อนงานสามารถคำนวณได้ โดยการคูณอัตราป้อนงานต่อฟันตัด (fz) ด้วยจำนวนฟันตัดที่ใช้งาน (จำนวนของฟันตัดที่ทำให้เกิดผิวงานสุดท้าย) อัตราป้อนงานถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดคุณภาพผิวสำเร็จของชิ้นงานที่จะคว้าน รวมถึงการควบคุมเศษให้มีลักษณะเหมาะสมตามหน้าลายเม็ดมีด
อัตราการเคลื่อนเข้า, vf
อัตราการเคลื่อนเข้าหมายถึง ความเร็วการเคลื่อนที่ในแนวแกนของเครื่องมือ โดยเป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการผลิต
อัตราการขจัดเนื้อโลหะ, Q
อัตราการขจัดเนื้อโลหะหมายถึง ปริมาณวัสดุที่ถูกตัดเฉือนออกภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการผลิตของการคว้านหยาบ
ระยะกินลึก, ap
ระยะกินลึกหมายถึง ผลต่างระหว่างรัศมีของรูที่คว้านแล้วกับรัศมีของรูที่ยังไม่ได้คว้าน
มุมเข้างาน, kr (º)
ลักษณะการเข้าชนงานของคมตัดสามารถระบุได้โดยใช้มุมเข้างาน ซึ่งเป็นมุมระหว่างคมตัดหลักกับทิศทางการป้อนงาน
กำลังสิทธิ, Pc

กำลังที่เครื่องจักรจะต้องสามารถส่งไปยังคมตัดได้ เพื่อให้เกิดการตัดชิ้นงาน การเลือกค่าการตัดจะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพทางกลและทางไฟฟ้าของเครื่องจักรด้วย
แรงบิด, Mc
ค่าแรงบิดที่เกิดจากเครื่องมือคว้านในระหว่างการตัดเฉือน ซึ่งเครื่องจักรจะต้องสามารถส่งแรงบิดนี้ไปยังเครื่องมือได้