Sandvik Coromant logo

การปรับตั้งเครื่องมือกลึงเกลียว

การปรบตงเครองมอสงผลอยางมากตอคณภาพของเกลยวและประสทธภาพของการกลงเกลยว กฎขอแรกคอ ใชระยะยนสนทสด

ระยะยื่น

สำหรับการปรับตั้งเครื่องมือให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ให้ใช้ระยะยื่นสั้นที่สุดเพื่อป้องกันปัญหาการสั่นสะท้าน ขอแนะนำให้ใช้สปินเดิลที่สองหรือยันศูนย์ท้ายในการรองรับ (ถ้ามี)

ระยะยื่นยาวเหมาะสำหรับการกลึงเกลียวใน สำหรับการตัดเฉือนโดยใช้ระยะยื่นยาว สิ่งที่มีความสำคัญเป็นพิเศษคือ การติดตั้งด้ามมีดอย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่ามีหน้าสัมผัสการจับยึดเพียงพอ ระยะจับยึดที่แนะนำคือ 2.5–5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางด้าม (D) ขึ้นอยู่กับดีไซน์ของด้ามกลึงคว้าน ซึ่งจะช่วยให้การปรับตั้งเครื่องมือมีความมั่นคง

หน้าสัมผัส การออกแบบ และพิกัดความเผื่อของขนาดระหว่าเครื่องมือกับตัวจับยึดเครื่องมือนับเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ด้ามกลึงคว้านทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตัวจับยึดที่ห่อหุ้มด้ามกลึงมิดชิดทำให้การทำงานมีความมั่นคงสูงสุด ไม่แนะนำให้ใช้ตัวจับยึดด้ามกลึงประเภท V และตัวจับยึดทรงกระบอกที่มีสกรู


ตัวจับยึดที่ห่อหุ้มด้ามกลึงมิดชิด
 

ตัวจับยึดด้ามกลึงประเภท V
 

ตัวจับยึดทรงกระบอกที่มีสกรู
 
 

การจับยึดด้ามกลึงคว้านและตัวต่อทรงกระบอกสามารถทำได้โดยใช้ชุดปลอกแยก การจับยึดด้ามกลึงคว้านและตัวต่อขนาดใหญ่สามารถทำได้โดยใช้ฝาประกับแบริ่งแยกสองชิ้น



เครื่องมือที่ประกอบโดยใช้ปลอกแยก
 
 

เครื่องมือติดตั้งในฝาประกับแบริ่งแยกสองชิ้น
 

ตัวจับยึดเครื่องมือกลับหัวสำหรับการกลึงเกลียวนอก

การใช้ตัวจับยึดเครื่องมือในตำแหน่งกลับหัว (ตัวจับยึดแบบงอหัว) มีประโยชน์สำหรับงานกลึงหลากหลายรูปแบบ โดยช่วยให้การขจัดเศษมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ตัวจับยึดเครื่องมือแบบงอหัวออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการกลึงเกลียวกลับหัว และทำให้เครื่องมือมีความสูงกึ่งกลางที่ถูกต้องทุกครั้งโดยไม่ต้องเปลี่ยนตัวจับยึดเครื่องมือในป้อมมีดหรือใช้แกน Y

ตัวจับยึดเครื่องมือทั่วไป ตัวจับยึดเครื่องมือแบบงอหัวได้
 

การจับยึดเครื่องมือสำหรับงานกลึงเกลียวใน

เนื่องจากในระหว่างการกลึงเกลียว แรงในแนวรัศมีสูงกว่าแรงในแนวแกนมาก จึงต้องใช้ระยะยื่นในการกลึงทั่วไปสั้นขึ้น

ในการกลึงในต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากในการทำงานปกติจะมีระยะยื่นมากกว่าและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกลึงเกลียวใน เนื่องจากแรงในแนวรัศมีที่สูงขึ้นจะทำให้เครื่องมือมีโอกาสโก่งตัวและเกิดการสั่นสะท้านมากขึ้น

การเลือกด้ามกลึงคว้านส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของการกลึงเกลียวใน สามารถเลือกใช้ด้ามกลึงคว้านหลักๆ ได้สี่ประเภทตามระยะยื่นและระดับความมั่นคงที่ต้องการ

ด้ามกลึงคว้านเหล็กกล้า

  • ระยะยื่นสูงสุด 2–3 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางรู
  • เส้นผ่านศูนย์กลางด้าม 10–40 มม. (0.4–1.5 นิ้ว)

ด้ามกลึงคว้านคาร์ไบด์

  • ระยะยื่นสูงสุด 5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางรู
  • เส้นผ่านศูนย์กลางด้าม 16 มม. (0.63 นิ้ว)

ด้ามกลึงคว้านเหล็กกล้าลดแรงสั่นสะท้าน (Silent ToolsTM)

  • ใช้ร่วมกับหัวตัด CoroTurn SL
  • ระยะยื่นสูงสุด 5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางรู
  • เส้นผ่านศูนย์กลางด้าม 40, 50, 60 มม. (1.5, 2.0 และ 2.4 นิ้ว)
  • และใช้สำหรับการกลึงตัดและการกลึงร่อง

ด้ามกลึงคว้านคาร์ไบด์

  • ใช้ร่วมกับหัวตัด CoroTurn SL
  • ระยะยื่นสูงสุด 5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางรู
  • เส้นผ่านศูนย์กลางด้าม 16, 20 และ 25 มม. (0.63, 0.75 และ 1.0 นิ้ว)

การเบี่ยงเบนของด้ามกลึงคว้านขึ้นอยู่กับวัสดุของด้ามกลึงคว้าน เส้นผ่านศูนย์กลาง (DMM) ระยะยื่น และแรงตัด ระยะจับยึดที่แนะนำในตัวจับยึดด้ามกลึงคว้านที่มีปลอกคือ 4 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางด้าม

 

การบำรุงรักษาเครื่องมือกลึงเกลียว

การกำหนดตารางการดูแลรักษาเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอภายในโรงงานจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ตรวจเช็คช่องใส่เม็ดมีด

สิ่งสำคัญคือการตรวจสอบให้แน่ใจว่า ช่องใส่เม็ดมีดไม่ชำรุดเสียหายในระหว่างการตัดเฉือนหรือการเตรียมเครื่องมือ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่องใส่เม็ดมีดสะอาดปราศจากฝุ่นหรือเศษโลหะที่เกิดจากการตัดเฉือน และถ้าจำเป็น ให้ทำความสะอาดช่องใส่เม็ดมีดด้วยลมอัด

ไขควงวัดแรงขัน

เพื่อให้ด้ามมีดแบบกดยึดด้วยสกรูทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรใช้ไขควงวัดแรงบิด เพื่อให้สามารถขันยึดเม็ดมีดได้อย่างถูกต้อง สำหรับตัวจับยึดเครื่องมือแต่ละประเภท ให้ใช้แรงบิด (TQ) ที่แนะนำ

  • การใช้แรงบิดมากเกินไปจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องมือ และอาจทำให้เม็ดมีดหรือสกรูหักได้
  • 
ถ้าใช้แรงบิดต่ำเกินไป จะทำให้เม็ดมีดขยับไปมาได้ เกิดการสั่นสะท้าน และประสิทธิภาพของการตัดลดลง

สกรูยึดเม็ดมีด

ทาสารหล่อลื่นสกรูอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้สกรูติด โดยให้ทาสารหล่อลื่นทั้งที่เกลียวของสกรูและหน้าสัมผัสใต้หัวสกรู เปลี่ยนสกรูที่สึกหรอหรือชำรุดเสียหาย

 

การจับยึดเครื่องมือ

ระบบจับยึด Coromant Capto® เป็นระบบเครื่องมือเปลี่ยนเร็วแบบถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ ซึ่งเมื่อนำมาใช้งานร่วมกับสปินเดลโดยตรง จะช่วยเพิ่มความมั่นคงและความเอนกประสงค์ให้กับเครื่องจักร เช่น เครื่องกลึงกัดหลายแกน เครื่องจักรอัตโนมัติครบวงจรที่สามารถทำงานกลึงได้ รวมไปถึงเครื่องกลึงแนวตั้ง

ตัวต่อเครื่องมือ Silent ToolsTM ได้รับการออกแบบเพื่อลดการสั่นสะเทือนด้วยกลไกดูดซับแรงสั่นสะเทือนภายในตัวเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม ลูกค้าส่วนใหญ่จะใช้ Silent ToolsTM สำหรับการทำงานที่ใช้ระยะยื่นยาว และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผิวงานสำหรับงานที่ใช้ระยะยื่นสั้น (3 x D) ได้เช่นกัน

ปลอก EasyFix เป็นระบบเครื่องมือที่ช่วยลดระยะเวลาการติดตั้งตัวต่อทรงกลม โดยแกนกดสปริงภายในปลอกจะกดเข้ากับร่องที่ตัวด้ามมีด ทำให้เครื่องมือมีความสูงกึ่งกลางที่ถูกต้องทุกครั้ง ปลอก EasyFix ออกแบบสำหรับน้ำหล่อเย็นแรงดันสูง

CoroTurn® SL เป็นระบบเครื่องมือแบบถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนของตัวต่อที่มีหัวตัดแบบถอดเปลี่ยนได้ ช่วยให้สามารถประกอบเครื่องมือได้หลากหลายแบบโดยใช้ตัวต่อและหัวตัดเพียงไม่กี่ชิ้น

ระบบจับยึด QSTM เป็นตัวจับยึดแบบเปลี่ยนเร็วที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับเครื่องจักรระบบป้อนอัตโนมัติ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

การปรับตั้งเครื่องมือ

การกลงตดและการกลงรองใหไดคณภาพดนนจะขนอยกบระบบเครองมอและวธการใชงานเครองมอรวมกบวสดทำเครองมอตดเปนหลก ระยะยน สำหรบการปรบตงเครองมอกลงตดใหไดประสทธภาพดทสด... keyboard_arrow_right

CoroCut® QF

หวตด CoroTurn SL สำหรบการกลงรองทหนาตด ถอดเปลยนชนสวนได พรอมระบบเชอมตออจฉรยะแบบฟนปลา... keyboard_arrow_right

การปรับตั้งเครื่องมือ

การกลงใหไดคณภาพดนนจะขนอยกบระบบเครองมอและวธการใชงานเครองมอรวมกบวสดทำเครองมอตดเปนหลก ระยะยน สำหรบการปรบตงเครองมอกลงใหไดประสทธภาพดทสด... keyboard_arrow_right

Silent Tools สำหรับจับยึดเครื่องมือ

Silent Tools เปนเครองหมายการคาสำหรบกลมผลตภณฑตวจบยดเครองมอสำหรบงานกลง งานกด และงานควาน... keyboard_arrow_right

ลงทะเบียน ติดตามข่าวสาร

สมัครรับจดหมายข่าวของเราวันนี้

account_circle

ยินดีต้อนรับ,