Sandvik Coromant logo

การแก้ปัญหาในงานกลึง



สาเหตุ
วิธีแก้ไข





การควบคุมเศษ เศษวัสดุชิ้นใหญ่และมีลักษณะเป็นเส้นยาวพันบริเวณรอบๆ เครื่องมือหรือชิ้นงาน โดยปกติแล้วมักเกิดจากอัตราป้อนที่ต่ำ มีระยะกินลึกที่ต่ำและ/หรือตื้นเกินไป


  • ใช้อัตราป้อนต่ำเกินไปสำหรับรูปทรงเม็ดมีดที่เลือก

  • เพิ่มอัตราป้อนงาน
  • เลือกรูปทรงเม็ดมีดที่สามารถหักเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ใช้เครื่องมือที่มีระบบน้ำหล่อเย็นความเที่ยงตรงสูง

  • ระยะกันลึกมีความตึงเกินไปสำหรับรูปทรงเม็ดมะดันที่เลือก

  • เพิ่มระยะกันลูกหรือเลือกรูปทรงเม็ดมัดที่สามารถหักเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


  • รัศมีปลายคมตัดใหญเกินไป

  • เลือกปลายคมตัดที่มีรัศมเล็กลง


  • ใช้มุมเข้างานทไม่เหมาะสม

  • เลือกตัวจบยืดที่มีมุมเข้าองศา (มุมฉาก) ใหญ่ที่สุด
    KAPR= 90° (PSIR =0°)






การควบคุมเศษ เศษวัสดุขนาดเล็กเกาะกันเป็นกลุ่ม เกิดจากการหักเศษที่รุนแรงเกินไป การหักเศษที่รุนแรงมักจะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องมือสั้นลงหรืออาจทำให้เกิดปัญหาเม็ดมัดแตกหักได้ เนื่องจากอัตราการกดงานที่คมตัดอยู่ในระดับสูง
  • ใช้อัตราปอนสูงเกินไปสำหรับรูปทรงเม็ดมะม่วงที่เลือก

  • เลือกกรูปทรงเม็ดมีดที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับอัตราป้อนที่สูงขึ้น และทางที่ดีควรใช้เม็ดมีดแบบด้านเดียว
  • ลดอัตราป้อน

  • ใช้มุมเข้างานที่ไม่เหมาะสม

  • เลือกตัวจับยึดที่มี่มุมเข้างาน (มุมนำ) เล็กที่สุด
    KAPR= 45°–75° (PSIR 45–15°)


  • รัศมีปลายคมตัดเล็กเกินไป

  • เลือกปลายคมตัดที่มีรัศมีใหญ่ขึ้น






ผิวสำเรจ
ผิวงานี้มีลักษณะเป็น "รอยขนแมว" และไม่ตรงตามข้อกำหนดด้านพิกัดความเผื่อ


  • เครื่องมือหักเศษไปกระทบกับชิ้นงานและทำให้เกิดรอยที่ผิวสำเรจ

  • เลือกทรงเม็ดมีดที่ช่วยไล่เศษออกจากชิ้นงาน
  • เปลี่ยนมุมเข้าชิ้นงาน
  • ลดระยะกินลึก
  • เลือกระบบเครื่องมือแบบมุมบวกที่มีมุมเอนแบบตรง




  • ผลงานที่มีลักษณะเป็นรอยขนแมวเนื่องจากคมตัดเกิดการสึกหรอหรือเป็นรอยบากมากเกินไป

  • เลือกเกรดที่ต้านทานการสึกหรอจากออกซิเดชันได้มากขึ้น เช่น เกรดเซอร์เมท
  • ลดความเร็วตัดลง





  • ใช้อัตราป้อนสูงเกินไปและรัศมีปลายคมตัดมีขนาดเล็กเกินไป จึงทำให้ได้ผิวงานหยาบ

  • เลือกใช้เม็ดมุดไวเปอร์หรือปลายคมตัดที่มีรัศมีใหญ่ขึ้น
  • ลดอัตราป้อน






การเกิดเศษครบ
การเกิดเศษครบบนชิ้นงานเมื่อเข้าหรือออกจากชิ้นงาน


  • คมตัดมีความคมไม่มากพอ
  • ใช้อัตราป้อนต่ำเกินไปสำหรับความกลมของคมตัด

  • ใช้เม็ดมีดที่มีความคม เม็ดมีดเคลือบ PVD หรือเม็ดมีดผ่านการเจียผิวและใช้อัตราป้อนต่ำ < 0.1 มม./รอบ (0.004 นิ้ว/รอบ)

  • เกิดการสึกหรอเป็นรอยบากในระยะกินลึกหรือการกะเทาะ

  • ใช้ตัวจับยึดที่มีมุมเข้างานขนาดเล็ก


  • การเกิดเศษคร้บในขั้นตอนสุดท้ายหรือขั้นตอนแรกของการตัด

  • ในขั้นตอนสุดท้ายหรือขั้นตอนแรกของการตัด ให้คงขั้นตอนการลบมุมหรือความโค้งมนขณะออกหรือเข้าชิ้นงาน






การสั่นสะท้าน เกิดแรงตัดในแนวรัศมีสูงเนื่องจากมีการสั่นสะท้านหรือร่องรอยการสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นสาเหตุจากระบบเครื่องมือหรือการติดตั้งเครื่องมือ ซึ่งมักพบได้ในการตัดเฉือนด้านในด้วยด้ามกลึงคว้าน


  • ใช้งานในทางที่ไม่เหมาะสม

  • เลือกมุมเข้างาน (มุมนำ) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น KAPR = 90° (PSIR = 0°)

  • รัสมีปลายคมตัดมีขนาดใหญ่เกินไป

  • เลือกปลายคมตัดที่มีรัศมีเล็กลง


  • ใช้มุมมนที่คมติดไม่เหมาะสมหรือมีการลบมุมแบบมุมลบ

  • เลือกเกรดชนิดเคลือบบางหรือเกรดชนิดที่ไม่มีการเคลือบผิว


  • เกิดการสึกหรือด้านหน้าอย่างรุนแรงที่คมตัด

  • เลือกเกรดที่ทนทานการสึกหรอได้มากขึ้นหรือลดความเร็วตัดลง






การสั่นสะท้าน
แรงตัดแนวดิ่งสูง


  • รปทรงเม็ดมีดที่ทำให้ต้องใช้แรงตัดสูง
  • การหักเศษรุนแรงเกินไป ทำให้ต้องใช้แรงตัดสูง

  • เลือกทรงเม็ดมีดที่เป็นมุมบวก
  • ลดอัตราป้อนลงหรือเลือกทรงเม็ดมีดที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับอัตราป้อนที่สูงขึ้น

  • แรงตัดมีค่าที่หลากหลายหรือต่ำเกินไปเนื่องจากระยะกันลึกน้อย

  • เพิ่มระยะกันลึกเพื่อทำการตัดด้วยเม็ดมีด


  • วางตำแหน่งของเครื่องมือไม่ถูกต้อง

  • ตรวจเช็คความสูงทัศนีย์กลางงาน


  • เครื่องมือมีสภาพการทำงานที่ไม่มั่นคงเนื่องจากระยะยาว

  • ลดระยะยื่นลง
  • ใช้ด้ามที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ที่สุด
  • ใช้ Silent Tools™ หรือด้ามคาร์ไบด์


  • การกัดยืดเม็ดมัดที่ไม่มั่นคงทำให้ความแข็งแกร่งในการทำงานไม่มากพอ

  • เพิ่มความยาวให้กับระยะจับยึดของด้ามกล้องควาน
  • ใช้ EasyFix™ กับด้ามทรงกระบอก

การสึกหรอของเม็ดมีด

ควรทำการตรวจสอบเม็ดมีด/คมตัดหลังการตัดเฉือนทุกครั้ง เพื่อให้ได้ค่าการตัดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด ชิ้นงานที่มีคุณภาพดีที่สุด ตลอดจนเครื่องมือมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด ใช้ตารางนี้เพื่อระบุสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาการสึกหรอรูปแบบต่างๆ ของเม็ดมีดที่จะช่วยพาคุณสู่ความสำเร็จกับงานกลึง




การสึกหรอด้านหน้า ลักษณะการสึกหรอที่มักพบได้กับการทำงานทุกรูปแบบ แสดงถึงอายุการใช้งานของเครื่องมือที่สามารถคำนวณล่วงหน้าได้

  • ความเร็วตัดสูงเกินไป
  • เกรดเหนียวเกินไป
  • ความต้านทานการสึกหรอต่ำเกินไป
  • วัสดุเนื้อแข็งตกค้างอยู่ในชิ้นงาน
  • ลดความเร็วตัดลง
  • เลือกเกรดชนิดที่เหมาะสมกับงานมากขึ้นโดยพิจารณาตามความต้องการในด้านความเหนียวหรือคุณสมบัติด้านความต้านทานการสึกหรอ



การสึกหรอเป็นรอยบาก

  • วัสดุมีความเหนียวและ/หรือเกิดการแข็งตัว
  • ใช้มุมเข้างาน ~90° (มุมนำ ~0°)
  • รูปทรงที่ใช้เป็นมุมลบเกินไป
  • เลือกคมตัดที่คมกว่าเดิม
  • ลดมุมเข้างานลง
  • ใช้ระยะกันลึกที่หลากหลาย



การสึกหรอเป็นหลุมด้านบน

  • ความเร็วตัดและ/หรืออัตราป้อนสูงเกินไป
  • ร่องหกเศษมีขนาดแคบเกินไป
  • การเกิดการละลายทางเคมีหรือการสึกหรอที่เกิดจากการเสียดสี
  • ความต้านทานการสึกหรอต่ำเกินไป
  • ลดความเร็วตัดหรืออัตราป้อนลง
  • เลือกเกรดที่ต้านทานการสึกหรอได้มากขึ้น
  • เลือกรูปทรงเม็ดมืดที่มีมุมบวก/เป็นแบบเปิดมากขึ้น



การเสื่อมถาวร
รอยบ่ม รอยกัด

  • แรงดันและแรงกดด้วยความร้อนสูง, อุณหภูมิการตัดสูงเกินไป
  • เกรดเหนียว/อ่อนเกินไป
  • ไม่มีระบบจ่ายน้ำหล่อเย็น
  • ลดความร้อนและแรงดันโดยลดความเร็วตัดและ/หรืออัตราป้อนลง
  • หากเกิดรอยบิ่นที่คมตัด ให้ลดอัตราป้อนลงก่อน
  • หากเกิดรอยบิ่นที่ขอบด้านข้าง ให้ลดความเร็วตัดลงก่อน
  • เลือกเกรดที่ต้านทานการสึกหรอ/ความร้อนได้มากขึ้น
  • เลือกรูปทรงเม็ดมีดที่มีมุมบวก/เป็นแบบเปิดมากขึ้น
  • ปรับปรุงการจ่ายน้ำหล่อเย็น



การพอกติดของเศษวัสดุที่คมตัด (BUE)

  • อุณหภูมิการตัดต่ำเกินไป
  • วัสดุมีความเหนียว/ง่ายต่อการพอกติด
  • รูปทรงที่ใช้เป็นมุมลับเกินไป
  • การเคลือบผิวหน้าเกินไป
  • เพิ่มอุณหภูมิการตัดโดยเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น
  • เลือกใช้เกรดเคลือบผิวแบบ PVD (เมื่อมีการเคลือบผิวแบบ PVD จะช่วยลดการสะสมของเศษวัสดุที่คมตัด)
  • เลือกคมตัดเป็นมุมบวกมากขึ้น



การหลุดล่อน

  • วัสดุมีคุณสมบัติง่ายต่อการพอกติด
  • ความเร็วตัดต่ำเกินไป
  • การเฉือนตัดเป็นช่วงๆ พร้อมระบบจ่ายน้ำหล่อเย็น
  • การเคลือบผิวหน้าเกินไป
  • เพิ่มความเร็วตัด
  • ปิดระบบจ่ายน้ำหล่อเย็น
  • เลือกใช้เกรดที่มีการเคลือบผิวบางกว่าและมีแนวคมตัดที่แข็งแกร่งมากขึ้น (PVD)



การกะเทาะที่คมตัด

  • สภาพการทำงานไม่มั่นคง
  • เกรดที่ใช้มีความแข็ง/เปราะมากเกินไป
  • การเคลือบผิวหน้ามากเกินไป (CVD ทำให้ขอบคมตัดหลุดล่อน)
  • ปรับสภาพการทำงานของเครื่องจักรให้มั่นคงยิ่งขึ้น
  • เลือกใช้เกรดที่มีความเหนียวมากขึ้น
  • เลือกรูปทรงเม็ดมีดที่มีความแข็งแรงมากขึ้น
  • เลือกใช้เกรดที่มีการเคลือบผิวบางกว่า (PVD)



การแตกร้าวเนื่องจากความร้อน

  • อุณหภูมิการตัดที่คมตัดมีความแตกต่างกัน
  • การตัดกระแทกและน้ำหล่อเย็น
  • เกรดที่ใช้ไว้ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน
  • การใช้เกรดที่มีการเคลือบผิวหน้าขึ้น (CVD)
  • ปิดระบบน้ำหล่อเย็นหรือใช้น้ำหล่อเย็นในปริมาณมากเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่
  • ลดความเร็วตัดลง
  • เลือกใช้เกรดที่มีการเคลือบผิวบางกว่า (PVD)



การแตกหัก

  • การสึกหรออย่างรุนแรง
  • เลือกใช้เกรดไม่เหมาะสม (เหนียว/แข็งเกินไป)
  • ใช้ค่าการตัดไม่เหมาะสม
  • ใช้เวลาในการปฏิบัติงาน (ระยะเวลาการตัด) ให้สั้นลง: ตรวจสอบต้นตอของการสึกหรอและลักษณะการสึกหรอหลัก
  • เปลี่ยนค่าการตัด
  • เลือกเกรด/รูปทรงเม็ดมีดที่เหมาะสมกับงานมากขึ้น



การแตกหักเป็นแผ่นบาง - เซรามิก

  • แรงกัดของเครื่องมือสูงเกินไป
  • ลดอัตราป้อน
  • เลือกใช้เกรดที่มีความเหนียวมากขึ้น
  • เลือกเม็ดมีดที่มีการลบมุมน้อยลง หรือใช้รูปทรงอื่นเพื่อเปลี่ยนทิศทางแรงตัด



การกะเทาะออกนอกบริเวณการตัด

  • มีเศษติดค้างจากการปาดเข้าหาบางงาน
  • เศษถูกคายออกไปกระทบกับคมตัด
  • ใช้อัตราป้อนหรือทิศทางการป้อนไม่เหมาะสม
  • เปลี่ยนทิศทางเดินเครื่องมือ (เพื่อไม่ให้เกิดการปาดเข้าไปยังชิ้นงาน)
  • เปลี่ยนอัตราป้อน
  • เลือกใช้เกรดเคลือบ PVD
  • เลือกรูปทรงเม็ดมีดที่ปรับเปลี่ยนวิธีการคายเศษ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

การสึกหรอและการแก้ปัญหาการเจาะ

การแกปญหา ดอกสวานเมดมด ดอกสวานแบบเปลยนปลายได ดอกสวานคารไบด ดอกสวานเมดมด รเจาะใหญกวาทตองการ การเจาะแบบหมนดอกสวาน เพมปรมาณนำหลอเยน... keyboard_arrow_right

วิธีใช้ระบบจ่ายน้ำหล่อเย็นและน้ำหล่อเย็นสำหรับการกลึง

การคายเศษ การหลอเยน และการหลอลนระหวางเครองมอกบวสดชนงาน เปนหนาทหลกของนำหลอเยน หากมการใชงานอยางถกตอง... keyboard_arrow_right

วิธีเพิ่มคุณภาพชิ้นงานในการกลึง

การควบคมเศษเปนปจจยทมความสำคญสงสดประการหนงทตองคำนงถงเพอใหไดชนงานกลงทมคณภาพสง เลอกใชคาการตดทถกตองและปฏบตตามคำแนะนำการใชงานของเราเพอใหไดชนงานทมคณภาพ การควบคมเศษอยางมประสทธภาพ การควบคมเศษเปนปจจยสำคญประการหนงในการกลง... keyboard_arrow_right

การกลึงใน

การกลงในเปนการตดเฉอนเสนผานศนยกลางดานในของชนงาน ระยะยาวและการคายเศษไดไมดถอเปนความทาทายสำคญสองประการทตองเผชญขณะทำงานกลงใน... keyboard_arrow_right

ลงทะเบียน ติดตามข่าวสาร

สมัครรับจดหมายข่าวของเราวันนี้

account_circle

ยินดีต้อนรับ,