Sandvik Coromant logo

CoroTurn® 107

สำหรับการกลึงนอกและการกลึงในชิ้นงานทรงผอม

คำแนะนำ

วิธีการใช้งาน

สำหรับเม็ดมีดทรงกลมและตัวจับยึดเครื่องมือที่มีระบบเชื่อมต่อแบบราง
ดูและดาวน์โหลดได้ที่นี่

ช่องใส่เม็ดมีด

ทำความสะอาดและตรวจหาจุดที่ชำรุดเสียหายบนช่องใส่เม็ดมีดและจุดรองรับคมตัด

แผ่นรองเม็ดมีดและช่องใส่แผ่นรองเม็ดมีด

ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแผ่นรองเม็ดมีดไม่บิดเบี้ยวในระหว่างการตัดเฉือนหรือการควบคุม และช่องใส่แผ่นรองเม็ดมีดไม่มีเศษวัสดุสะสมที่ขอบ

หน้าสัมผัส

ตรวจสอบสวนรองรับและหน้าสัมผัสให้แน่ใจว่าไม่มีการชำรุดเสียหายหรือสิ่งสกปรก

ระบบจับยึดเครื่องมือ

ระบบจับยึดเครื่องมือที่ดีที่สุดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับงานกลึงใน โดยสามารถลดความเสี่ยงของการสั่นสะท้านได้เมื่อใช้ระบบจับยึดที่มีความยาวขั้นต่ำ 4 X BD (เส้นผ่านศูนย์กลางด้าม)

อะไหล่

ทาสารหล่อลื่นให้เพียงพอที่จะไม่ทำให้สกรูติดขัด โดยให้ทาสารหล่อลื่นทั้งที่เกลียวของสกรูและหน้าสัมผัสใต้หัวสกรู

ตรวจสอบหลุม

การสึกหรออาจทำให้ช่องใส่เม็ดมีดอาจมีขนาดใหญ่เกินไปจนใส่เม็ดมีดได้ไม่พอดี ตรวจสอบช่องว่างโดยใช้แผ่นรองเม็ดมีดขนาด 0.02 มม.

การต่อระบบน้ำหล่อเย็นบนด้าม QS

การต่อระบบน้ำหล่อเย็นสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้ตัวต่อ (ตัวเลือกแรก), การใช้จุดต่อที่ด้านหลัง, การใช้จุดต่อที่ด้านหน้าและด้านล่าง หรือการใช้จุดต่อที่ด้านหลังรวมกับตัวตั้งระยะ QS


คำแนะนำการใช้งาน

การตัดเฉือนชิ้นงานทรงผอม

การตัดเฉือนชิ้นงานทรงผอม

ผลของมุมเข้างาน: ควรทำงานโดยมีมุมใกล้เคียงกับ 90/0 องศาเสมอ เนื่องจากแม้การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (จาก 91/-1 ถึง 95/-5 องศา) ก็ยังส่งผลกระทบต่อทิศทางแรงตัดในระหว่างการตัดเฉือนได้

ระบบจ่ายน้ำหล่อเย็นที่ด้านบนและด้านล่าง: ควรเลือกใช้แบบไหนและเมื่อใด

ระบบจ่ายน้ำหล่อเย็นที่ด้านบนและด้านล่าง: ควรเลือกใช้แบบไหนและเมื่อใด

การใช้ระบบจ่ายน้ำหล่อเย็นความเที่ยงตรงสูงที่ด้านบนและด้านล่างเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเรื่องการควบคุมเศษและยืดอายุการใช้งานเครื่องมือ เรียนรู้วิธีการใช้งานน้ำหล่อเย็นอย่างถูกต้องและดูข้อแนะนำที่มีประโยชน์ต่างๆ เกี่ยวกับน้ำหล่อเย็นที่จะช่วยให้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในงานกลึงได้

ชิ้นงานที่ไวต่อการเกิดการสั่นสะท้าน

ชิ้นงานที่ไวต่อการเกิดการสั่นสะท้าน

ขอแนะนำให้ตัดเฉือนทั้งหมดในรอบเดียวเพื่อส่งแรงไปยังหัวจับ/สปินเดิล โดยสามารถใช้มุมเข้างานเพื่อส่งแรงตัด เมื่อมุมเข้างานเพิ่มขึ้นจะทำให้แรงตัดกระทำต่อเครื่องมือและส่งผลให้เกิดแรงโก่งตัวที่ชิ้นงานน้อยลง

การกลึงโค้ง

การกลึงโค้ง

การกลึงโค้งเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการกลึงหลุมในวัสดุที่ตัดเฉือนได้ยาก โดยจุดสึกหรอจะกระจายไปทั่วคมตัดซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการสั่นสะท้านขณะเข้าชิ้นงาน การใช้งาน CoroTurn® 107 พร้อมระบบเชื่อมต่อแบบรางจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการกลึงโค้ง ทำให้เกิดความมั่นคงในกระบวนการมากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ ควบคุมเศษได้ดีเยี่ยม และช่วยลดจำนวนเครื่องมือในสต็อกให้น้อยลง

คำแนะนำ

เม็ดมีดและระบบเครื่องมือ

การกลึงนอกตามยาวและการกลึงปาดด้านนอก

การเก็บผิวละเอียด การกลึงปานกลาง การกลึงหยาบ
รูปทรงเม็ดมีด C C C
ขนาดเม็ดมีด 09 09 12
มุมเข้างาน 95° 95° 95°
การจับยึด สกรู สกรู สกรู

การกลึงขึ้นรูปด้านนอก

การเก็บผิวละเอียด การกลึงปานกลาง
D D
11 11
93° 93°
สกรู สกรู

การกลึงในตามยาวและการกลึงปาดด้านใน

การเก็บผิวละเอียด การกลึงปานกลาง
รูปทรงเม็ดมีด T T
ขนาดเม็ดมีด 05 09
มุมเข้างาน 91° 91°
การจับยึด สกรู สกรู
Ø ของรู 6-13 ≥ 13.5

การกลึงในขึ้นรูป

การเก็บผิวละเอียด การกลึงปานกลาง
D D
07 07
93° 93°
สกรู สกรู
≥ 13 ≥ 13

เกรดเม็ดมีด

ลักษณะการตัดเฉือน P M K N S H
ง่าย GC4415 GC2220 GC3210 H10 GC1105 CB7115
ปานกลาง GC4425 GC2025 GC3210 H10 GC1115 CB7125
ยาก GC4335 GC2035 GC3225 H10 GC1125 CB7135

หน้าลายเม็ดมีด

การทำงาน P M K N S H
การเก็บผิวละเอียด -PF -MF -KF -AL -UM S01020
การกลึงปานกลาง -PM -MM -KM -AL -MF S01020
การกลึงหยาบ -PR -MR -KR -AL -MM S02030


ลงทะเบียน ติดตามข่าวสาร

สมัครรับจดหมายข่าวของเราวันนี้

account_circle

Välkommen,